วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553




กล้วยไม้รองเท้านารี คน ไทยเราชอบปลูกไม้ดอกกันแทบทุกบ้าน จะเรียกว่าคนไทยเป็นคนรักต้นไม้ก็เป็นไปได้ บ้านช่องของคนไทยที่มีเนื้อที่พอที่จะปลูกไม้ดอกไม้ใบก็จะปลูกต้นไม้จนเต็ม เนื้อที่แม้กระทั่งคนที่อยู่ตามคอนโดฯก็จะปลูกต้นไม้ไว้ดูเล่น โดยปลูกอยู่ในกระถางและแขวนไว้ตามที่ต่างๆ การทำธุรกิจปลูกไม้ดอกและ ตัดดอกขายเป็นอาชีพใหม่ของคนไทย ในปัจจุบันเรามีสวนกล้วยไม้สวนไม้ดอกตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เมื่อถึงเวลาดอกไม้บานสะพรั่งในช่วงที่เมืองไทยมีอากาศเย็น เจ้าของสวนกล้วยไม้และไม้ดอกนานาชนิดก็จะร่วมกันจัดงานชุมนุมดอกไม้จากสวน หลายแห่ง มาประกวดประขันในช่วงนั้นซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก


กล้วยไม้ตระกูลช้าง การปลูกดอกไม้ขายเพิ่งจะมาทำเป็นธุรกิจเมื่อไม่กี่สิบปีมานี่เอง มีผู้ประกอบธุรกิจในการปลูกกุหลาบ กล้วยไม้นานาชนิดเพื่อตัดดอกขาย ซึ่งในทุกวันนี้มีสวนกล้วยไม้ สวนกุหลาบที่มีเจ้าของสวนประกอบธุรกิจทางด้านนี้จนเป็นธุรกิจส่งดอกไม้เป็น สินค้าออกไปต่างประเทศ ทำรายได้ให้เมืองไทยอย่างมหาศาล

ลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด







ลักษณะเฉพาะของแต่ละ ชนิด 1. กุหลาบกระเป๋าปิด (Aerides odorata Lour. - แอริดิส โอโดราตา) กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลนี้ที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง 2 ส่วนจะพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า อินเดีย เนปาล และภูฎาน สำหรับในประเทศไทยนั้น กุหลาบกระเป๋าปิดจากป่าภาคใต้นะมีลักษณะแตกต่างจากป่าภาคเหนือเล็กน้อยกุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นปิดเป็นเกลียวเล็กน้อย และต้นห้อยย้อยลงแต่ละต้นมักแตกแขนงเป็นหลายยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง ใบยาวประมาณ 25 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบางและไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และห้อยลง แต่ละช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วงอมแดงอ่อน ๆ ส่วนปลาบปากเป็นสีม่วง เดือยดอกโค้งงอนขึ้นคล้ายเขาดอกมีกลิ่นหอมและบานนานประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและปิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อยจากการตรวจนับจำนวนโครโมโซม พบว่ากุหลาบกระเป๋าปิดจากภาคเหนือจะมีโครโมโซมมากกว่าปกติเป็น 2 เท่า ในทางพันธุศาสตร์เรียกพวกนี้ว่า เตตราพลอยด์ (tetraploid-4N) ส่วนพวกที่มีโครโมโซมจำนวนปกติเช่นที่พบทางภาคใต้ เรียกว่า ดิพลอยด์ (diploid-2N)2. กุหลาบกระเป๋าเปิด (Aerides falcate Lindl.-แอริดิส ฟาลคาตา) กุหลาบกระเป๋าเปิดเป็นกล้วยไม้ที่มีปลายปากกว้าง ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอกค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับปลายปาก ใบยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร พบขึ้นอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและยังพบในแควันอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามชื่อกุหลาบกระเป๋าเปิด อาจจะทำให้สับสนเล็กน้อย เพราะกล้วยไม้ในสกุลกุหลาบนี้มีปลายปากเป็น 2 แบบ คือ กระเป๋าปิด หมายถึงปลายปากพับเข้ามาปิดเส้าเกสร กับกระเป๋าเปิด หมายถึงปลายปาเปิดอ้าออก ในขณะเดียวกันคำว่ากระเป๋าเปิดยังหมายถึงกล้วยไม้ชนิดหนึ่งที่กำลังกล่าวถึงนี้ด้วยส่วนกระเป๋าปิดนันั ก็หมายถึงกล้วยไม้ชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน แต่จะไม่สับสนเพราะในประเทศไทยพบกุหลาบกระเป๋ปิดเพียงชนิดเดียว กุหลาบที่มีกระเป๋าปิดชนิดอื่น ๆ ไม่พบในประเทศไทยกุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีกลิ่นหอม ช่อดอกห้อย พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพูที่ปลายกลีบ3. กุหลาบเหลืองโคราช (Aerides houlettiana Rchb.f. - แอริดิส ฮูเลทเทียนา) กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบกระเป๋าเปิดแต่มักมีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาวของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด ในประเทศไทยพบเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบในลาว กัมพูชา และเวียดนามด้วยกุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกรกฎาคมจุดเด่นของกุหลาบเหลืองโคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง แต่ก็มีความผิดเพี้ยนกันไปในแต่ละต้น คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือบางต้นมองไม่เห็นสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือกสีเหลืองเข้มเป็นหลักเพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง4. กุหลาบแดง (Aerides crassifolia Parish ex Burbidge - แอริดิสคราสสิโฟเลีย) กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาวเห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้ปลายปาก ใบมักจะสั้นกว่า 18 เซนติเมตร กว้าง 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมากหรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งที่นครนายก และกาญจนบุรี นอกประเทศไทยพบในพม่า ลาว และเวียดนามกุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีช่อดอกสั้นช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอกเท่านั้น ดอกเป็นสีม่วงแดงการจัดระเบียบดอกในช่อไม่งดงามหมือนชนิดอื่น ๆ 5. กุหลาบอินทจักร (Aerides flabellate Rolfe ex Downie - อิริดิส ฟลาเบลลาตา)กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิดเดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะแหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ และพบในพม่า ลาว และมณฑลยูนานของจีนกุหลาบอินทจักรมีสีดอกเขียวอมเหลือง และมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง ช่อดอกจึงมักขนานหรือโค้งลงเล็กน้อย แทนที่จะห้อยย้ายลงมาจุดเดนของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่มีเดือยยาวและงอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียกว่ากล้วยไม้เดือยงามก็ได้6. กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา (Aerdes rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt. - แอริดิส โรซี หรือ Aerodes fieldingii Lodd. Ex Morren)กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากันในประเทศไทยพบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมากนอกจากนี้ยังพบในภูฏาน อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม และมณฑนยูนนานของจีนกุหลาบน่านช่อดอกมีก่านส่งแข็ง ชี้เฉียงลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้นสมบูรณ์ช่อดอกจะแตกแขนงด้วย7. กุหลาบมาลัยแดง (Aerides multiflora Roxb. - แอริดิส มัลติฟลอรา)กุหลาบมาลัยแดงเป็นกล้วยไม้ที่มีดอกคล้ายกุหลาบน่าน ต่างกันตรงที่ปลาบปากแทนที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยม กลับเป็นรูปหัวใจปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประเทศไทยพบในภาคเหนือ อีสาน และที่นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกประเทศไทยพบในเนปาล สิกขิม ภูฏาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามโดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดงมักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้น ๆ จนเข้มที่สุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตกแขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็นออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เคยพบต้นที่ดอกมีสีขาวล้วน จึงเรียกว่า "มาลัยเผือก"กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ล่ำสัน ใบหนาและโค้ง ใบซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอกเบียดชิดกันแน่นช่อ8. กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู (Aerides krabiense Seidenf. - แอริดิส กระบี่เอนเซ)กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพูเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก ใบแคบ หนา และห่อเป็นรูปตัววี หลายใบแหลม ปลายปากกว้าง มน ต้นมักแตกเป็นกอ พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่ ต่อมาพบในจังหวัดใกล้เคียงกันด้วย เช่นที่พังงา รวมทั้งตามเกาะต่าง ๆ ในบริเวณนั้น และพบที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตามหน้าผาริมทะเลที่ได้ราบแสงแดดเต็มที่กุหลาบชมพูกระบี่มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ ในสกุลกุหลาบด้วยกัน ที่พบในประเทศไทยมีใบแคบหนา ปลายใบโค้งงอใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมักจะมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไป จุดประจะปรากฏมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัด และอากาศแห้งแล้งซึ่งเป็นไปเช่นเดียวกับใบเข็มแดงกุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอกยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ช่อเอนขนานไปกับใบ ปลายช่อโค้งลง บางต้นพบช่อดอกแตกแขนงด้วย ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบมาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตกต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดงปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้างและมน

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติกล้วยไม้










ประวัติกล้วยไม้ไทย
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ ใน ภูมิภาคลาตินอเมริกา









กล้วยไม้ไทยแห่งไพรพฤกษ์ เรื่อง : ชนินทร์ โถรัตน์
ในบรรดาพืชมีดอกวงศ์ต่างๆในโลกนี้ ราวๆ 25,000 ชนิด กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ประมาณกันว่าจำนวนชนิดของกล้วยไม้ที่มนุษย์ รู้จักกันแล้วอาจมีมากถึง 30,000 ชนิด กล้วยไม้เป็นหนึ่ง ในบรรดาพืชพรรณ ที่มนุษย์รู้จักและให้ความสนใจมากที่สุด ด้วยความสวยงามโด่ดเด่น และความหลากหลาย ของรูปร่างลักษณะอันน่ามหัศจรรย์เกินกว่า พืชชนิดใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ความหลายหลายทางชีวลักษณ์รวมทั้งความสามารถในการขยายพันธุ์สูงสุดในอาณาจักรพืช และด้วยความจริงที่ว่ากล้วยไม้ไม่สามารถปรับตัวจนสามารถเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ในการดำรงชีพขณะที่พืชอื่นๆอีก หลายชนิดไม่สามารถทำได้และสูญพันธุ์ ไปก่อนหน้านี้แล้ว